วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มงคลสูตร
พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ  มังคะลานิ  อะจินตะยุง                                                       อากังขะมานา  โสตถานัง  พรูหิ   มังคะละมุตตะมัง
      หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาโพธิญาณ  คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารใกล้เมืองสาวัตถี  ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า  เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   “หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย  มุ่งหมายความเจริญก้าวหน้า  ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว   ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบดังนี้ว่า
1.    อะเสวะนา จะ พาลานัง      การไม่คบคนพาล
2.    ปัณฑิตตานัญ จะ เสวะนา   การคบบัณฑิต
3.    ปูชา จะ ปูชะนียานัง          การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา                                                      
**เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสามอย่าง เป็นมงคลอันสูงสุด
4.    ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ       การอยู่ในประเทศอันควร
5.    ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา   การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว
6.    อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ        การตั้งตนไว้ชอบ                                                          **เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสามอย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
7.    พาหุสัจจัญจะ                 การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
8.    สิปปัญจะ                      การมีศิลปวิทยา
9.    วินะโย จะ สุสิกขิโต         วินัยที่ศึกษาดีแล้ว
10. สุภาสิตา จะ ยา วาจา       วาจาที่เป็นสุภาษิต                                                         **เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
11. มาตาปิตุอุปัฏฐานัง           การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา
12. ปุตตะทารัสสะ สังคะโห     การเลี้ยงดูบุตร
13. การสงเคราะห์ภรรยา,สามี
14. อะนากุลา จะกัมมันตา       การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน                                               **เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
15. ทานัญจะ                      การบำเพ็ญทาน
16. ธัมมะจะริยา จะ               การประพฤติธรรม
17. ญาตะกา  นัญจะ  สังคะโห   การสงเคราะห์หมู่ญาติ
18. อะนะวัชชานิ  กัมมานิ       การงานอันปราศจากจากโทษ                                            **เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
19. อาระตี  วิระตี  ปาปา         การงดเว้นจากบาปกรรม
20. มัชชะปานา จะ สัญญะโม   การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา
21. อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ       การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย                                            **เอตัมมังคะละมุตตะมัง   กิจสามอย่าง เป็นมงคลอันสูงสุด
22. คาระโว จะ                     ความเคารพอ่อนน้อม
23. นิวาโต จะ                      ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่งจองหอง
24. สันตุฏฐี จะ                     ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่
25. กะตัญญุตา                     ความเป็นคนกตัญญู 
26. กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง       การฟังธรรมตามกาล                                                          **เอตัมมังคะละมุตตะมัง  กิจห้าอย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
27. ขันตี จะ                        ความอดทน
28. โสวะจัสสะวะนัง              ความเป็นคนว่าง่าย
29. สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง   การพบเห็นสมณะผู้สงบจากกิเลส
30. กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา      การสนทนาธรรมตามกาล                                                     **เอตัมมังคะละมุตตะมัง  กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
31. ตะโป จะ                       ความเพียรเผากิเลส
32. พรหมะจะริยัญจะ             การประพฤติพรหมจรรย์
33. อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง    การเห็นอริยสัจจ์
34. นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ       การทำพระนิพพานให้แจ้ง                                                **เอตัมมังคะละมุตตะมัง  กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
35. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง  ยัสสะ นะ กัมปะติ   จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย ถูกต้องแล้วย่อมไม่หวั่นไหว
36. อะโสกัง     เป็นจิตไม่เศร้าโศก
37. วิระชัง        เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส
38. เขมัง          เป็นจิตอันเกษมสานต์                                                                            **เอตัมมังคะละมุตตะมัง  กิจสี่อย่าง  เป็นมงคลอันสูงสุด
     เอตาทิสานิ  กัตตะวานะ  สัพพัตถะมะปะราชิตา  สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ  ตันเตสังมังคะละมุตตะมันติ   หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ได้กระทำมงคลทั้ง ๓๘ ประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว  จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงสวัสดีในทุกสถาน  ทั้งหมดนี้เป็นมงคล  คือเหตุให้ถึงความเจริญก้าวหน้าอันสูงสุด  ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้ อิติ  ด้วยประการฉะนี้แล.

       แก้ไข “วิบากกรรมด้วยตนเอง”  ตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ด้วย “มงคลทำ หรือมงคลชีวิต  ๓๘ ประการ”
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงแสดงหลักมงคลชีวิต ๓๘ ประการ  มงคลของพระองค์  “ไม่ยึดถือวัตถุ”  แต่ให้  “ยึดถือการปฏิบัติตนเอง” 

        วันเกิด เดือนเกิด ปีเกิด เวลาเกิด  ของทุก ๆ คนคือ รหัสชีวิต ซึ่งแตกต่างกันไป  สุดแต่ว่าใครเกิด วัน เดือน ปี และเวลาเท่าไร
         อะไรเล่า ?   จึงทำให้คนไม่เหมือนกัน  รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ สติปัญญา อุปนิสัย บุญวาสนา โชคชะตา  ถึงแม้นว่าจะคลอดในครรภ์มารดาเดียวกันก็เถอะ
        “มงคลชีวิต”    มีตัวอักษร ๙ ตัว  เลข ๙ คือ ชีวิต
ทุกคำถาม – มีคำตอบ  อ.เก่ง ศิวพร